วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แก๋งฮังเล,ฮินเล




เครื่องปรุง
เนื้อหมู หมูสามชั้นซีอิ๊วดำน้ำกระเทียมปลอกเปลือกขิงสดหั่นเป็นเส้นบาง น้ำมะขามเปียกผงแกงฮังเลเครื่องแกงพริกแห้ง ข่าหั่นละเอียดตะไคร้หั่นบาง กระเทียมปอกเปลือกหั่นเล็ก หอมแดงปอกเปลือกหั่นบาง กะปิ เกลือป่น โขลกเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด(ถ้าจะหื้อสะดวกซื้อพริกแกงฮังเลสำเร็จตี้กาดแล้วมาต๋ำพริกหอมกะปิเพิ่ม คนขายเปิ้นบอกว่า พริก 5 บาทต่อจิ้น 1 กิโลเจ้า)


วิธีทำ1. หั่นหมูทั้งสองอย่างเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม
2. เคล้าเครื่องแกงกับหมูเข้าด้วยกัน หมักไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง3. ใส่หมูลงในหม้อ ใช้ไฟอ่อนๆผัดพอหมูตึงตัว ใส่น้ำ ซีอิ๊วดำลงในหม้อ ปิดฝา ตั้งเคี่ยวไปเรื่อยๆ4. ใส่ขิงซอย กระเทียมที่ปอกเปลือกเป็นกลีบ ใส่ผงแกงฮังเล ตั้งเคี่ยวจนหมูนุ่ม และน้ำงวด5. ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก ชิมรสให้ได้ 3 รส เปรี้ยว เค็ม เผ็ด ถ้าอ่อนเค็มให้เติมเกลือ


บ่อน้ำพุร้อนสันกำแพง จ.เชียงใหม่




บ่อน้ำพุร้อนสันกำแพง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเคียงคู่กับชื่อเสียงของจังหวัดเชียงใหม่ในฐานะเมืองท่องเที่ยวมาเป็นเวลายาวนานเลยทีเดียว ภายในบริเวณบ่อน้ำพุร้อนมีการตกแต่งสถานที่ด้วยสวนดอกไม้สวยงาม มีห้องอาบน้ำแร่ บริเวณที่จัดไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวนั่งพักแช่เท้าในลำธารอุ่นๆ มีสระน้ำแร่สำหรับเด็ก ๆ และ มีการจัดบริเวณสำหรับให้นักท่องเที่ยวนำไข่ไปต้ม รวมถึงที่พัก สถานที่กางเต็นท์ และ ร้านอาหาร





มีการปรับแต่งภูมิทัศน์ไว้เป็นอย่างดีคงความเป็นธรรมชาติไว้ ดูแล้วสบายตา ถ้าใครเที่ยวแล้วติดใจยังไม่อยากกลับก็ติดต่อขอพักที่นี่ก็ได้ ติดต่อที่สหกรณ์น้ำพุร้อนสันกำแพงเขามีบ้านพักปรับอากาศเป็นหลังๆ ไว้คอยบริการ ซึ่งในบ้านแต่ละหลังยังมีอ่างอาบน้ำแร่ส่วนตัวไว้ให้แช่กันได้ตามใจชอบ ค่าบริการก็คืนละประมาณ 1,000 - 1,200 บาท ต่อหลัง แบบกางเต็นท์หลังละประมาณ 100 บาท ต่อคืน
น้ำพุร้อนสันกำแพงเป็นมหัศจรรย์ธรรมชาติที่มาจากความเปลี่ยนแปลงจากใต้พื้นโลกก่อกำเนิดน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิถึง 100 องศาเซลเซียส น้ำร้อนอันเดือดพล่านพุ่งขึ้นจากใต้พื้นพิภพสู่ท้องฟ้าสูงถึง 30 เมตร เป็นธรรมชาติที่น่าทึ่งเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นน้ำร้อนธรรมชาติยังสามารถต้มไข่ให้สุกได้และอร่อยอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นน้ำแร่ธรรมชาติ ที่ใช้ในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อรักษาโรคผิวหนัง ภายในบริเวณน้ำพุร้อนสันกำแพงเต็มไปด้วยต้นไม้ที่ร่มรื่น มีทั้งน้ำพุร้อนพุ่งสูงเสียดฟ้า,นวดแผนไทย,อาบน้ำแร่แช่น้ำร้อน,ดอกไม้สวย ๆ ,ที่นั่งพักผ่อน,บ้านพักรับรอง,อาหารเครื่องดื่ม,สินค้าคุณภาพจากชาวเชียงใหม่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถเที่ยวพักผ่อนได้ตลอดทุกฤดูกาล

น้ำพุร้อนสันกำแพงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านสหกรณ์ มีเนื้อที่กว่า 75 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศสวยงามล้อมรอบไปด้วยภูเขาธรรมชาติ และต้นไม้ท้องถิ่นต้นดอกไม้นานาพรรณ มีทั้งดอกไม้หน้าร้อนและดอกไม้หน้าหนาวหลายชนิด และมีสิ่งมหัศจรรย์ก็คือน้ำพุร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส บริเวณน้ำพุร้อนมีบริการห้องอาบน้ำแร่ สระว่ายน้ำแร่ บ้านพัก เต็นท์และบริการนวดแผนไทย ให้บริการด้วย
ตลอดเส้นทางเดินไปยังน้ำพุร้อนทั่วบริเวณก็เต็มไปด้วยแมกไม้ป่านานาชนิด ทั้งต้นใหญ่ต้นเล็กที่ช่วยให้ร่มเงาสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้าไปพักผ่อน อากาศดีและร่มรื่น มีซุ้มที่นั่งพักผ่อนทานอาหารและจัดชุดโต๊ะ เก้าอี้ ตามร่มไม้อยู่ทั่วบริเวณ มีธารน้ำแร่ร้อนทีไหลคดเคี้ยวมาจากตัวน้ำพุร้อนทางด้านบน โดยได้จัดแต่งธารน้ำร้อนขนาดกว้างราว 2 เมตร อุณหภูมิมีตั้งแต่ร้อนมากจนถึงแบบอุ่น ๆ สองฝั่งธารน้ำเป็นที่นั่งสำหรับให้นักท่องเที่ยว ผู้เฒ่าผู้แก่ได้ห้อยขาแช่เท้าในน้ำแร่เพื่อเป็นการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ และสามารถรักษาโรคเชื้อราในเท้าได้อีกด้วย

กิจกรรมยอดนิยมของนักท่องเที่ยว คือการนั่งแช่เท้าในน้ำร้อนที่ใครเข้าไปแล้วก็ต้องทดลอง ส่วนจะชอบน้ำร้อน, อุ่น, เย็น ก็เลือกได้ตามระยะทางจากธารน้ำที่ไหลมาจากตัวน้ำพุร้อน และในช่วงสุดท้ายน้ำค่อนอุ่นและเริ่มเย็นเขาก็จัดเป็นบ่อขนาดเล็กสำหรับเด็ก ๆ





ได้ลงไปเล่นแช่น้ำกันอย่างสนุกสนาน การแช่น้ำแร่ร้อนนั้นแม้จะใช่เพียงแค่ส่วนเท้าหรือแค่เข่าแต่อุณหภูมิของ น้ำด้านล่างค่อนข้างจะร้อนอยู่เราต้องค่อย ๆ แตะและค่อย ๆ จุ่ม ให้เท้าลงไปทีละน้อยเพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัวเสียก่อน ตอนแรกที่แช่เท้าจะรู้สึกว่าร้อนเล็กน้อย แต่แช่ไปนาน ๆ ก็จะไม่รู้สึกร้อนและร่างกายจะขับเหงื่ออกมาดีมากเป็นการทำสปาแบบธรรมชาติไป ในตัวได้อีกด้วยในบริเวณนี้เราแช่ได้สบายไม่มีค่าบริการ



การเดินทาง น้ำพุร้อนสันกำแพง อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 34 กิโลเมตร สามารถไปได้ 2 ทางด้วยกัน คือ เส้นทางเชียงใหม่-สันกำแพง-สถานีเพาะพันธุ์กล้าไม้สัก-น้ำพุร้อน (เส้นทางนี้จะผ่านถ้ำเมืองคอน ซึ่งอยู่ห่างจากน้ำพุร้อน 4 กิโลเมตร) หรือเส้นทางเชียงใหม่-สันกำแพง-หมู่บ้านออนหลวย-น้ำพุร้อน หากเดินทางโดยรถประจำทางขึ้นรถจากสถานีขนส่งช้างเผือกไปยังสันกำแพง และเช่าเหมารถสองแถวจากสันกำแพงไปน้ำพุร้อนในราคาประมาณ 200 บาทต่อคัน
ค่าบริการ คนไทย ผู้ใหญ่ 20 บ. เด็ก 10 บ. ต่างชาติ ผู้ใหญ่ 40 บ. เด็ก 20 บ.
สำรองที่พักล่วงหน้าที่ ธุรกิจน้ำพุร้อนสันกำแพงหมู่บ้านสหกรณ์ โทร. 0 5392 9077 และรุ่งอรุณน้ำพุร้อน รายละเอียดติดต่อ โทร. 0 5324 8475

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท.ภาคเหนือเขต1 (เชียงใหม่)
โทรศัพท์ 0-5324-8604,0-5324-8607


การจัดงาน" ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ ประจำปี 2553"



เทศบาลนครเชียงใหม่

กิจกรรม

1.งานประเพณีสรงน้ำพระเสตังคมณีและการแสดงศิลปะพื้นบ้านล้านนา09.00 - 24.00 1 - 3 เม.ย.สถานที่วัดเชียงมั่น
2.ประกวดภาพถ่ายงานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองฯ(ส่งภาพที่ร้านโฟโต้บัคช้างเผือก) 06.00 - 18.0025 เม.ย.สถานที่ตัดสิน ณ ข่วงฯสามกษัตริย์
3.การแสดงศิลปะหัตถกรรมพื้นบ้านล้านนา 17.00 - 23.00เสาร์ 3 ,เสาร์ 10 เม.ย.ถนนวัวลาย
4.การแสดงศิลปะหัตถกรรมพื้นบ้านล้านนา 17.00 - 23.00อาทิตย์ 4 , อาทิตย์ 11 เม.ย.ถนนราชดำเนิน
5งานประเพณีปอยส่างลอง09.00 - 22.00 4 - 6 เม.ย.วัดป่าเป้า
6.งานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุเจดีย์วัดเชียงยืน09.00 - 22.00 7 - 9 เม.ย.วัดเชียงยืน
7.นิทรรศการศิลปกรรม "ทิพยหย้องภูมิผญา ล้านนาสล่าเมือง"09.00 - 18.00 8 - 30 เม.ย.หอนิทรรศการศิลปฯ มช.
8.เจดีย์ทรายสุดส้าว,ประกวดปั๋นปอนปี๋ใหม่,ศิลปะพื้นบ้าน,ตุง08.00 - 21.30 10 - 15 เม.ย.วัดเจ็ดลิน
9.งานประเพณีสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุวัดพันอ้น09.00 - 22.00 11 - 15 เม.ย.วัดพันอ้น
10.สมโภชพระสิงห์,กาดหมั้ว,ประกวดเพลงไทย ,ศิลปะพื้นบ้าน08.00 - 23.00 11 - 15 เม.ย.วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
11.กิจกรรม "ปี๋ใหม่เบิกบานสานฝันคนเมือง" (ประเพณีสงกรานต์) 17.00 - 20.0011-เม.ย.ข่วงวัฒนธรรมสามกษัตริย์
12. 714 ปีสะหลีปี๋ใหม่เมือง ถนนวัฒนธรรมคนเมืองและอาหารนานาชาติ17.00 - 23.00 11 - 15 เม.ย.ข่วงท่าแพ - สี่แยกกลางเวียง
13.พิธีทำบุญตักบาตรครบรอบ 714 ปีเมืองเจียงใหม่06.00 - 08.0012-เม.ย.ข่วงวัฒนธรรมสามกษัตริย์
14.พิธีบวงสรวงศาลพระภูมิเทศบาลนครเชียงใหม่08.09 - 08.3912-เม.ย.สนง.เทศบาลนครเชียงใหม่
15.พิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์09.09 - 10.0912-เม.ย. ข่วงวัฒนธรรมสามกษัตริย์
16.พิธีอัญเชิญและบวงสรวงเศียรท้าวกบิลพรหมองค์มหาสงกรานต์10.39 - 11.3912-เม.ย.สนง.เทศบาลนครเชียงใหม่
17.ขบวนแห่เครื่องสักการะสระเกล้าดำหัวพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์16.00 - 18.0012-เม.ย.ข่วงวัฒนธรรมสามกษัตริย์
18.ถนนวัฒนธรรม "สืบสาน ต๋ามฮีต ย้อนฮอย ปี๋ใหม่เมือง"10.00 - 22.00 12 - 15 เม.ย.สะพานนวรัฐ - หน้าจวนผู้ว่า ฯ
19.กิจกรรม " ศิลปวัฒนธรรมวิถีชีวิตภูมิปัญญาล้านนา "09.00 - 22.00 12 - 15 เม.ย.รอบคูเมือง
20.สืบสานงานศิลป์แผ่นดินถิ่นล้านนา : นิทรรศการจ้อและตุง09.00 - 21.00 12 - 15 เม.ย.วัดอินทขีลสะดือเมือง
21.สรงน้ำพระสิริมังคลาจารย์,ก่อเจดีย์ทราย,การแสดงศิลปะพื้นบ้าน09.00 - 22.00 12 - 15 เม.ย.พุทธสถานเชียงใหม่
22.การแสดงศิลปะพื้นบ้านล้านนา, การประกวดเทพีสงกรานต์19.00 - 24.00 12 - 15 เม.ย.ข่วงประตูท่าแพ
23.สืบสานฮีตฮอย ย้อนรอยปี๋ใหม่เมือง , สรงน้ำพระ , ตัดจ้อ – ตานตุง06.00 - 20.00 12 - 15 เม.ย.วัดโลกโมฬี
24.พิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในงานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ประจำปี 255306.00 - 08.0013-เม.ย.ข่วงประตูท่าแพ
25.ขบวนแห่การประกวดแม่ญิงขี่รถถีบกางจ้องล้านนาไทยในอดีต07.00 - 12.0013-เม.ย.สำนักงาน ททท. - ข่วงประตูท่าแพ
26.พิธีเปิดงานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ ประจำปี 255308.09 - 08.3013-เม.ย.ข่วงประตูท่าแพ
27.ประกวดเครื่องสักการะล้านนา หมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นดอก ต้นผึ้ง08.30 - 12.0013-เม.ย.ข่วงประตูท่าแพ
28.พิธีอาราธนาพระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานบนรถบุษบก09.09 - 09.3913-เม.ย.วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
29.พิธีอาราธนาพระพุทธสิหิงค์,ขบวนแห่พระพุทธรูป,รถนางสงกรานต์14.09 - 18.0013-เม.ย.สี่แยกสันป่าข่อย - วัดพระสิงห์
30.ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง " ศิลปะไทยโบราณสล่าสิบหมู่ล้านนา "09.00 - 18.00 13 - 18 เม.ย.วัดศรีสุพรรณ
31.ขบวนแห่ขนทรายเข้าวัด – ไม้ค้ำสะหลี16.00 - 18.0014-เม.ย.สะพานเหล็ก - วัดบนถนนท่าแพ
32.ขบวนแห่เครื่องสักการะสระเกล้าดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่13.30 - 18.0015-เม.ย.ข่วงฯสามกษัตริย์ – จวนผู้ว่าฯ
ข้อมูล ณ วันที่ 3 มี.ค.53

ข้อมูล:สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เทศบาลนครเชียงใหม่โทรศัพท์ 053255478,053233178
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานเชียงใหม่โทรศัพท์ 053248604,053248607
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยโทร.1672

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ห่อนึ่ง(ห่อหมก)






ห่อนึ่ง(ห่อหมก) เป็นอาหารปรุงด้วยเนื้อสัตว์ต่างๆได้หลายชนิด เป็นส่วนผสม นำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง ห่อด้วยใบตอง และนึ่งจนสุก บางสูตรใช้วิธีนำเครื่องแกงลงผัดกับน้ำมันให้หอมก่อน แล้วจึงใส่เนื้อไก่ลงไปผัดให้เข้ากัน นำไปห่อใบตอง และนึ่งเป็นลำดับต่อไป ห่อนึ่ง(ห่อหมก) เครื่องปรุงเนื้อไก่ ปลา หมู อีเห็น เก้ง กวาง(แล้วแต่ชอบ) ข้าวคั่ว ใบมะกรูด ผักชีซอย เครื่องแกงพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ข่า ตะไคร้ ขมิ้น กะปิ เกลือ


วิธีทำ

1.โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด
2. ผัดเครื่องแกงกับน้ำมันพืช ใส่ไก่ (ปลา หมู )พอสุกเติมน้ำ พอเดือด ตักใส่ชาม
3. ใส่ข้าวคั่ว คลุกเคล้าให้เข้ากัน
4. ใส่ใบมะกรูดและผักชีต้นหอม คลุกเคล้าให้เข้ากัน
5. เตรียมใบตอง ตัดหัวตัดท้าย นำมาซ้อนกันสองชั้น ตักส่วนผสมใส่บนใบตอง
6. ฉีกใบตอง ห่อด้านนอกอีก 1 ชั้น ใช้ไม้กลัด กลัดใบตอง
7. ใช้กรรไกรตัดแต่งห่อใบตองให้สวยงาม
8. นำลงนึ่งในลังถึง ประมาณ 30 นาที

เคล็ดไม่ลับ : ใช้พริกขี้หนูสวนแห้ง มีรสเผ็ดที่พอดี ถ้าชอบใบยอ ให้นำใบยอมารองใบตองก่อนตักส่วนผสมใส่ลงไปในใบตองที่จะนำมาทำห่อหมก

ข้อมูล : รัตนา พรหมพิชัย. (2542). ห่อหนึ้ง. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.


ลาบเมืองเหนือ






ส่วนประกอบ หมูสันในบดละเอียด 500 กรัม ตับหมูลวก 150 กรัม ใส้หมูต้มสุก(เครื่องใน) 150 กรัม เลือดหมู (คั้นด้วยตะไคร้) 1 ช้อนโต๊ะ เครื่องเทศสำหรับลาบ 1 ช้อนโต๊ะ มะแขว่นโขลกละเอียด 1/2 ช้อนชา พริกขี้หนูแห้งคั่วป่นละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ ข่าซอย 1/2 ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ซอย 2 หัว รากผักชีซอย 1 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1/2 ช้อนชา กระเทียม 2 หัว หอมแดง 3 หัว ต้นหอมผักชีซอย 2 ช้อนโต๊ะ ผักไผ่ซอย 1 ช้อนโต๊ะ กระเทียมเจียว 2 ช้อนโต๊ะ หอมแดงเจียว 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ- นำเครื่องเทศสำหรับลาบมาโขลกรวมกับรากผักชีซอย ข่าซอย กระเทียม หอมแดงให้ละเอียดเตรียมไว้ ถ้าจะให้ได้รสดั้งเดิม ลองหาซื้อพริกลาบของคนเหนือมาใช้แทน- นำตับหมูลวกและไส้หมูต้มสุกมาหั่นเป็นชิ้นพอคำพักไว้- นำหมูสับใส่ลงในชามเติมเลือดที่คั้นด้วยตะไคร้แล้ว และใส่เครื่องในที่หั่นไว้ตามลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน- ใส่เครื่องปรุงที่โขลกเตรียมไว้แล้วลงไป คนให้เข้ากัน เติมเกลือป่น พริกป่น และมะแขว่น ชิมรสตามชอบ(ถ้าไม่เคยทานลาบสดๆ ก็อย่าพึ่งชิมในตอนนี้เลยเอาไว้ไปชิมในขั้นตอนคั่วดีกว่า)- ตั้งกระทะใส่น้ำมันสำหรับผัด 2 ช้อนโต๊ะ นำลาบที่ปรุงได้ที่แล้วไปคั่วให้สุกชิมรสก่อนยกลง ใส่ต้นหอมผักชีซอยและผักไผ่ซอยลงไปคนให้เข้ากัน ตักใส่จานเสิรฟโรยหน้าด้วยหอมแดงเจียว กระเทียมเจียว รับประทานกับผักสดและเครื่องเคียง




หมายเหตุ:ส่วนผสมและเครื่องปรุงปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม


วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หลู้





เป็นอาหารประเภทดิบสดประเภทเดียวกับลาบ และส้าจิ๊น ซึ่งใช้เครื่องปรุงเดียวกัน การทำหลู้นิยมใช้เลือดสดๆ ของหมู วัว หรือควาย ชาวล้านนานิยมใช้เลือดหมูในการทำมากกว่าเลือดวัวและควาย บางสูตรใช้น้ำเพลี้ย (กากอาหารที่ค้างในลำไส้ของวัวควาย) โดยนำเพี้ยสดๆ หรือต้มก่อนก็ได้ แทนน้ำเลือด เรียกว่า หลู้เพี้ย (ประธาน นันไชยศิลป์, สัมภาษณ์, 3 กรกฎาคม 2550; รัตนา พรหมพิชัย, 2542, หน้า 7482)
ส่วนผสม : เนื้อหมูสับ มันหมู เลือดหมู น้ำต้มกะปิ น้ำกระเทียมดอง ใบมะนาวทอดกรอบ ใบมะกรูดทอดกรอบ เครื่องในหมูทอดกรอบ ไตหมู ตะไคร้ทอดกรอบ หอมแดงเจียว กระเทียมเจียว พริกลาบ ใบตะไคร้ ผักไผ่ซอย ต้นหอมซอย ผักชีซอย
วิธีทำ
1. คั้นเลือดสดด้วยใบตะไคร้ เพื่อดับกลิ่นคาวเลือด
2. ใส่น้ำต้มซุป พริกลาบ น้ำกระเทียมดอง และน้ำต้มกะปิ ลงในชามเลือด คนให้เข้ากัน
3. ใส่หมูสับ ลงในชามส่วนผสม
4. ใส่ไตหมู และมันหมู คนให้เข้ากัน
5. ใส่ใบมะนาวทอดกรอบ ใบมะกรูดทอดกรอบ ตะไคร้ทอดกรอบ หอมแดงเจียว กระเทียมเจียว ผักไผ่ และผักชีต้นหอม คนให้เข้ากัน
6. ใส่เครื่องในทอดกรอบ คนให้เข้ากัน
เคล็ดไม่ลับ : เลือดที่นิยมใช้เป็นเลือกในโครง คือเลือดที่ตกอยู่โพรงอกตอนชำแหล่ะ ซึ่งถือว่าเป็นเลือดที่สะอาด (รัตนา พรหมพิชัย 2542)

ข้อมูล : รัตนา พรหมพิชัย (2542) ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม 4). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.


วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขนมจ็อก(ขนมเทียน)





ขนมจ็อก หรือ ขนมเทียน เครื่องปรุงประกอบด้วย แป้งข้าวเหนียว มะพร้าวขูด น้ำอ้อย ใบตอง และน้ำมัน วิธีทำ เริ่มจากนำแป้งข้าวเหนียวมาผสมกับน้ำ นวดจนเนื้อแป้งจับกันพอที่จะปั้นและต้องไม่และติดมือ อยากให้ตัวแป้งขนมมีรสหวานก็ใช้น้ำอ้อยหรือน้ำตาลที่เชื่อมเป็นน้ำผสมลงไปนิดหน่อย มาถึงไส้ขนม ขนมจ็อกแบบดั้งเดิมนิยมทำไส้หวานจากมะพร้าว ไม่นิยมทำไส้ถั่วหรือไส้เค็ม เริ่มต้นจากเคี่ยวน้ำอ้อยหรือน้ำตาลด้วยไฟอ่อนพอให้ข้นเป็นยางมะตูม นำมะพร้าวที่ขูดไว้ลงไปเคี่ยวด้วยกันจนมีกลิ่นหอม เหนียวปั้นได้ ส่วนการห่อขนม ก็จะใช้ใบตองอ่อนมาขดเป็นรูปกรวยแหลม พับทบล่าง-ซ้าย-ขวา นำด้านที่แหลมสอดพับก็จะได้ห่อขนมซึ่งมีลักษณะก้นแหลมนำไปนิ่งจนสุก “จ็อก” เป็นคำกริยาที่หมายถึง การทำสิ่งของให้มีลักษณะเป็นคล้าย ๆ กระจุก มียอดแหลม


จังหวัดพะเยา


งามลือเลื่องดอยบุษราคัม “จังหวัดพะเยา”

คำขวัญประจำจังหวัด
”…กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง
บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม…”
จังหวัดพะเยา เป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งในแถบลานนาไทย เดิมมีชื่อว่า ภูกามยาว หรือ พยาว มีอายุกว่า 900 ปี โดยพ่อขุนศรีจอมธรรม กษัตริย์แห่งราชวงศ์ลัวจักรราช ผู้ครองเมืองหิรัญนครเงินยาง เมืองเชียงแสน และเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยพ่อขุนงำเมือง ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตามอิทธิพลของอาณาจักรต่างๆ ........อ่านต่อ...>>>